วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ ปิโตรเลียม

คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. องค์ประกอบในข้อใดที่ไม่พบในน้ำมันดิบ
ก. แอลเคน ข. แอลไคน์ ค. สารประกอบกำมะถัน ง. สารประกอบไนโตรเจน
2. การสำรวจข้อใดใช้บอกถึงขอบเขต ความหนา ความกว้าง ใหญ่ของแอ่ง และความลึกของชั้นหิน
ก. การวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก ข. การตรวจวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก
ค. การวัดคลื่นไหวสะเทือน ง. การวัดความหนาแน่น
3. ข้อใดไม่ใช่แก๊สที่ใช้อัดลงไปเพื่อให้ปิโตรเลียมถูกดันให้ไหลขึ้นมาจากหลุมที่ได้จากการขุดเจาะที่มีความดันภายในต่ำ
ก. ไอน้ำ ข. แก๊สธรรมชาติ ค. คาร์บอนมอนอกไซด์ ง. คาร์บอนไดออกไซด์
4. แหล่งน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ใด
ก. แหล่งน้ำมันดิบเพชรจากแหล่งสิริกิติ์ ข. แหล่งน้ำมันดิบที่อำเภอฝาง
ค.แหล่งน้ำมันดิบที่อำเภอน้ำพอง ง. แหล่งน้ำมันนางนวลในอ่าวไทย
5. แหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันคือบริเวณใด
ก. อ่าวเปอร์เซีย ข. อเมริกากลาง ค. อเมริกาเหนือ ง. รัสเซีย
6. การสำรวจปิโตรเลียมในข้อใดทำให้ทราบตำแหน่ง รูปร่างลักษณะ และโครงสร้างของชั้นหินใต้ดิน
ก. การวัดความหนาแน่น ข. การวัดคลื่นไหวสะเทือน
ค. การตรวจวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก ง.การวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็กโลก
7. แก๊สธรรมชาติมักพบในช่องว่างของหินชนิดใด และมีการจัดเรียงตัวตามข้อใด
ก. หินทรายอยู่ระหว่างน่ำมันดิบกับน้ำ ข. หินดินดานอยู่ชั้นบนเหนือน้ำมันดิบและน้ำ
ค. หินอัคนีอยู่ชั้นบนเหนือน้ำและน้ำมันดิบ ง. หินปูน อยู่ระหว่างน้ำมันดิบกับน้ำ
8. ในการขุดเจาะน้ำมันดิบจะพบสารในข้อใดตามลำดับ
ก. น้ำมันดิบ น้ำ และแก๊ส ข. น้ำ น้ำมันดิบ และแก๊ส
ค. แก๊ส น้ำ และน้ำมันดิบ ง. แก๊ส น้ำมันดิบ และน้ำ
9. ในการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบ คำอธิบายในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. แยกแก๊สได้ก่อนของเหลว ข. แยกสารที่มีจุดเดือดต่อออกมาได้ก่อน
ค. แยกสารออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามค่าจุดเดิอดของสารนั้น ง. แยกของเหลวที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ได้ก่อนของเหลวที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก
10. เมื่อน้ำน้ำมันดิบมากลั่นลำดับส่วน สารที่กลั่นได้เป็นไปตามข้อใด
ก. แก๊สธรรมชาติ น้ำมันเตา และน้ำมันก๊าด ข. น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด และน้ำมันเบนซิน
ค. น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ง. น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเตา
11. ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน วิธีการในข้อใดไม่ต้องอาศัยความร้อน
ก. กระบวนการแตกสลาย ข. กระบวนการรีฟอร์มมิ่ง ค. กระบวนการแอลคิลเลชัน
ง. กระบวนการโอลิโกเมอไรเซชัน
12.ข้อใดเรียงลำดับสารที่จุดเดือดสูงไปต่ำได้ถูกต้อง
ก. น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมีนก๊าด น้ำมันหล่อลื่น
ข. น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน
ค. น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด และน้ำมันเบนซิน
ง. น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และน้ำมันเตา
13.ข้อใดเป็นน้ำมันเบนซินที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยที่สุด
ก. น้ำมันเบนซินที่มีเฮปเทนร้อยละ 7
ข. น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 91
ค. น้ำมันเบนซินที่มีสมบัติเหมือนเชื้อเพลิงที่มีไอโซออกเทนร้อยละ 92
ง. น้ำมันเบนซินที่มีสมบัติเหมือนเชื้อเพลิงที่มีไอโซออกเทนร้อยละ 91 ซึ่งเติมสารเตตระเอทิลเลด
14.ข้อความในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. เลขออกเทนสามารถเพิ่มได้โดยการเพิ่มเตตระเอทิลเลด
ข. น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 100 เป็นน้ำมันเบนซินที่มีสมบัติการเผาไหม้เหมือนกับไอโซออกเทนบริสุทธิ์
ค. น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 0 เป็นน้ำมันเบนซินที่มีสมบัติการเผาไหม้เหมือนกับไฮโดรคาร์บอนบริสุทธิ์
ง. น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 83 เป็นน้ำมันเบนซินที่ประกอบด้วยไอโซออกเทนร้อยละ 83 และเฮปเทนร้อยละ 17 โดยมวล
15.สารในข้อใดเป็นสารในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น
ก. บิวทาไดอีน โทลูอีน และโพรเพน ข. บิวทาไดอีน ไซลีน และอีเทน
ค. ไซลีน โทลูอีน และสไตรีน ง. เอทิลีน เบนซิน และอีเทน
16.อุตสาหกรรมในข้อใดจัดเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง
ก. การนำอีเทนมาผลิตอีทีน ข. การใช้แนฟทาผลิตเบนซีน
ค. การใช้เอทิลีนผลิตพอลิเอทิลีน ง. การใช้เบนซีนทำปฏิกิริยากับเอทิลีนเพื่อผลิตสไตรีน
17.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับน้ำมันดีเซล
ก. ของผสมระหว่างซีเทนกับแอลฟาเมทิลแนฟทาลีนในอัตราส่วนที่ขึ้นกับเลขซีเทนของน้ำมันดีเซลนั้น
ข. ของผสมระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนตั้งแต่ 19-24 อะตอม
ค. ของผสมระหว่างไฮดดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอนตั้งแต่ 14 - 19 อะตอม
ง. ของผสมระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนะตอมคาร์บอนตั้งแต่ 10-14 อะตอม
18.ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับน้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 95 ไม่ถูกต้อง
ก. ได้จากการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันที่มีเลขออกเทนต่ำโดยการเติมสารเพิ่มเลขออกเทนเช่น MTBE
ข. ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบกว่าน้ำมันที่มีเลขออกเทน 91
ค. ประกอบด้วยไอโซออกเทน 95 ส่วนและเฮปเทน 5 ส่วน โดยมวล
ง. ใช้ได้กับเครื่องยนต์แบบแก๊สโซลีน
19.องค์ประกอบของแก๊สธรรมชาติจากอ่าวไทยในข้อใดมีสารไฮโดรคาร์บอน และสารที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอนในปริมาณมากที่สุด
ก.บิวเทนและไนโตรเจน ข. มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
ค. มีเทนและไนโตรเจน ง. บิวเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
20.ขั้นตอนแรกของการแยกแก๊สธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยคือข้อใด
ก. กำจัดไอปรอท ข. กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
ค. แยกแก๊สเหลวออกจากแก๊สธรรมชาติ ง. เพิ่มความดันและลดอุณหภูมิให้แก๊สเปลี่ยนเป็นของเหลว

เฉลย
คำถามที่ 1 - องค์ประกอบที่พบในน้ำมันดิบคือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ และสารประกอบของกำมะถัน
คำถามที่ 2 - การวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกใช้บอกถึงขอบเขต ความกว้างใหญ่ของแอ่ง และความลึกของชั้นหิน
คำถามที่ 3 - แก๊สที่ใช้อัดลงไปเพื่อให้ปิโตรเลียมไหลขึ้นมาจากหลุมคือ ไอน้ำ แก๊สธรรมชาติ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
คำถามที่ 4 - แหล่งน้ำมันดิบเพชรเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
คำถามที่ 5 - แหล่งสะสมปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่สุดของโลกปัจจุบันคือบริเวณอ่าวเปอร์เซีย รองลงมาคือบริเวณอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และรัสเซีย
คำถามที่ 6 - การวัดคลื่นไหวสะเทือนทำให้ทราบตำแหน่ง รูปร่างลักษณะ และโครงสร้างของชั้นหินใต้ดิน
คำถามที่ 7 - แก๊สธรรมชาติพบในช่องว่างของหินดินดาน อยู่ชั้นบนเหนือน้ำมันดิบและน้ำ
คำถามที่ 8 - ในการขุดเจาะน้ำมันดิบใต้ชั้นหินดินดานจะพบแก๊ส น้ำมันดิบและน้ำ ตามลำดับ
คำถามที่ 9 - ในการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบจะแยกของเหลวที่มีโมเลกุลขนาดเล็กได้ก่อนของเหลวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่
คำถามที่ 10 - ในการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบเรียงลำดับผลิตภัณฑ์ที่แยกออกมาได้ตามลำดับก่อนหลังคือ แก๊สธรรมชาติ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น ไข น้ำมันเตา บิทูเมน
คำถามที่ 11 - กระบวนการแอลคิลเลชันใช้กรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งฏิกิริยา
คำถามที่ 12 - ในการกลั่นลำดับส่วนของน้ำมันดิบเรียงลำดับสารที่จุดเดือดสูงไปต่ำได้คือ บิทูเมน น้ำมันเตา ไข น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน แก๊สธรรมชาติ
คำถามที่ 13 - น้ำมันเบนซินที่มีเฮปเทนร้อยละ 7 จะมีไอโซออกเทนร้อยละ 93 ดังนั้นมีเลขออกเทน 93
คำถามที่ 14 - น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 0 เป็นน้ำมันเบนซินที่มีสมบัติเหมือนเฮปเทน 100% โดยมวล
คำถามที่ 15 - สารในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นประกอบด้วย เอทิลีน โพรพิลีน บิวทาไดอีน เบนซีน สไตรีน โทลูอีน และไซลีน
คำถามที่ 16 - ข้อ ก ขและค จัดเป็นอุตสาหกรรมขั้นต้น ข้อ ง เป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง
คำถามที่ 17 - น้ำมันเบนซินมี C 5 - C10 น้ำมันก๊าดมีคาร์บอน 10 -14 อะตอม น้ำมันดีเซลมีคาร์บอน14 -19 อะตอม น้ำมันหล่อลื่นมีคาร์บอนมีคาร์บอน 19-35 อะตอม
คำถามที่ 18 - น้ำมันเบนซินที่มีเลขออกเทน 95 มีสมบัติการเผาไหม้เหมือนกับเฮปเทนร้อยละ 5 โดยมวล และไอโซออกเทนร้อยละ 95 โดยมวล
คำถามที่ 19 - องค์ประกอบของแก๊สธรรมชาติจากอ่าวไทยมีแก๊สมีเทน 60-80% โดยปริมาตร และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 15-25 % โดยปริมาตร
คำถามที่ 20 - ขั้นตอนในการแยกแก๊สธรรมชาติคือ 3 , 1 , 2 , 4

1 ความคิดเห็น: